ข่าวสารล่าสุด
2021.07.26
กรณีศึกษา
Cloud Technology & CloudRoom ?
Topic
✨ความยืดหยุ่นของทรัพยากร (Elasticity of resources)
✨แหล่งรวมทรัพยากร ((Resource pooling)
✨ง่ายต่อการการจัดหา (Ease of provisioning)
✨จัดสรรโดยมุ่งเน้นผู้ใช้ (User-oriented allocation of resources)
✨ผู้ใช้จัดสรรบริการได้ตามต้องการด้วยตนเอง (On demand self service)
✨เข้าถึงได้ด้วยเครือข่ายที่กว้างขวาง (Broad network access)
✨มีความยืดหยุ่นทางด้านเวลาหรือความเร็ว (Rapid elasticity)
✨บริการที่วัดได้ (Measured Service)
✨ความปลอดภัย (Cloud Security) ทางกายภาพ (Physical) และทางกระบวนการ (Logical)
เมื่อพูดถึง Cloud technology หลายต่อหลายท่านอาจไม่ทราบความหมาย หรือไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่ในระยะหลังๆอาจเริ่มได้ยินบ้าง เช่นบางท่านอาจเห็นคำศัพท์นี้แสดงขึ้นมาบนอุปกรณ์มือถือ ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูล เช่น iCloud: https://apple.co/2TytoTO
คำถามคือ Cloud นี่คือมันคืออะไร?
การจะตอบคำถามเช่นนี้ได้ เราอาจต้องย้อนไปดูประวัติศาสตร์ระยะใกล้ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้น, เข้าไปศึกษาคำจำกัดความของมัน ซึ่งอาจพบเห็นความเปลี่ยนแปลงไปจากจุดเริ่มต้น, หรือจะศึกษาปรัชญา จริยศาสตร์-ข้อดีข้อเสียของมัน, ผลกระทบต่อสังคม-ธุรกิจ หรือเศรษฐศาสตร์, ตลอดจนการประยุกต์ใช้ในแวดวงที่หลากหลาย เป็นต้น
เริ่มแรกเดิมที หากค้นหา เรามักเจอคำว่า Cloud Computing
ยกตัวอย่าง
– Cloud Computing – A Comprehensive Definition (จาก Journal of computing and management studies 2017) ลิงค์: https://bit.ly/3y54g6l
– The Ethics of Cloud Computing (จาก Sci Eng Ethics 2017) ลิงค์: https://bit.ly/3i6Fs8tและถึงแม้ว่าจะไม่มีคำว่า Computing พ่วงท้าย แต่คำศัพท์ก็ยังคงวนเวียนอยู่ในด้านเทคโนโลยี เช่น General Architecture of Cloud (ใน ScienceDirect 2018) ลิงค์: https://bit.ly/3eXtQCB แต่เนื้อใหญ่ใจความก็ยังกล่าวถึง Cloud Computing เป็นต้น
เฉพาะแค่ภาษาอังกฤษเราก็อาจเวียนหัวนิดหน่อย ยังมิวายศัพท์แสงทางเทคโนโลยีหรือคำศัพท์วิชาการด้วยแล้วนั้น เราอาจถึงขั้นขอตัวสลบแพล็บ เมื่อเราพบความจริงเช่นนี้แล้ว ดังนั้น วันนี้ นอกเหนือจากการแอบแฝงโฆษณา CloudRoom ที่ใส่ไว้ในเนื้อหาแล้วนั้น (ขำ) เรายังอยากทำตัวให้มีสาระอยู่บ้าง ด้วยการศึกษาลักษณะสำคัญร่วมของ Cloud
ลักษณะร่วมกันโดยพื้นฐานของ Cloud
– ความยืดหยุ่นของทรัพยากร (Elasticity of resources) ทั้งนี้หากมองไปที่แหล่งทรัพยากรที่ผู้ใช้งานแต่ละคนๆใช้ร่วมกัน จะมีสภาพเสมือนเป็นชุมชนที่ต่างคนต่างใช้แต่ตักตวงจากแหล่งเดียวกันได้ (Resource pooling)
– ผลกระทบดังกล่าว ไม่ใช่เฉพาะ ฝั่งผู้บริโภค (Demand) เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้สะดวก ในขณะเดียวกัน ฝั่งผู้ผลิต (Supply) ก็เกิดสภาพความสะดวกในการจัดสรรทรัพยากรเช่นเดียวกัน จึงเรียกได้ว่าสะดวกในการจัดเตรียม (Ease of provisioning)
-ความสะดวกดังกล่าว จึงเกิดปรากฎการณ์ที่ “ผู้ให้บริการ” ยึดถือความต้องการหรือกำหนดทิศทางจาก “ผู้ใช้งาน” โดยตรง (User-oriented allocation of resources) จึงอาจมองได้ว่า ผู้ใช้งานต่างหาก คือผู้ใช้สามารถจัดสรรบริการได้ด้วยตนเองเมื่อพวกเขาต้องการ (On demand self service)
-นั่นหมายความว่า เส้นทางหรือเครือข่ายในการจัดสรรและการเข้าถึงทรัพยากร ต้องเชื่อมต่อกันกว้างขวาง และสะดวกยิ่งขึ้น เช่น การเข้าถึงผ่านโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ ได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านเครือข่ายที่นับวันจะเชื่อมโยงและรวดเร็วอย่างยิ่ง (Broad network access)
-ด้วยความยืดหยุ่นดังกล่าว ส่งผลระยะเวลาของแต่ละกิจกรรมทั้งหมด คือ มีความยืดหยุดทางด้านความเร็ว (Rapid elasticity) และนี่อาจเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสำเร็จในการปรับตัว และส่งผลต่อความอยู่รอดได้ดีกว่า การจะบ่งชี้ได้นั้น จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือวัดค่าด้วยเช่นกัน กล่าวคือต้องเป็นบริการที่วัดได้ (Measured Service)
-และเมื่อมันมีสภาพการเข้าถึงได้ง่ายและเร็วแล้ว ย่อมต้องเป็นจุดหมายแห่งการโจรกรรม เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะที่ผู้ใช้งานมีความสะดวก พร้อมกันนั้นนักโจรกรรมก็เกิดสภาพเดียวกัน ดังนั้น คุณสมบัติของเทคโนโลยีนี้ Cloud จึงต้องเกิดควบคู่กันไปความปลอดภัย (Cloud Security)
ความปลอดภัยดังกล่าว อาจมองหยาบๆ คือ 1.) ทางกายภาพ (Physical) อันเป็นความปลอดภัยที่จับต้องได้ เช่น การไม่รู้ที่ตั้งของที่เก็บทรัพยากร จึงถือเป็นการจัดการหนึ่งของระบบนี้ การป้องกันทรัพยากรจากการถูกโจมตี จีงเป็นเสมือนการเก็บใส่ไว้ใน Safe house หมายความว่า การล่วงรู้ตำแหน่งที่เก็บทรัพยากรย่อมส่งผลต่อความปลอดภัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และนั่นทำให้ตำแหน่งในการจัดเก็บไม่สามารถบอกได้แม้กระทั่งผู้ใช้งาน เพราะเมื่อผู้ใช้งานไม่รู้ นักโจรกรรมก็มีโอกาสน้อยที่จะล่วงรู้ข้อมูลนี้เช่นกัน เป็นต้น 2.) ความปลอดภัยที่เป็นกระบวนการ (Logical) อันเป็นกลไกการบริหารจัดการระบบ รวมถึงโปรแกรมต่างๆ เรื่องความปลอดภัยนี้เราจะมาเล่าอีกทีในคราวถัดๆ ไป
ทั้งหมดทั้งมวล เราอาจเข้าใจว่า Cloud สามารถใช้ได้เฉพาะการจัดเก็บข้อมูลที่เป็น Digital เพียงเท่านั้น ทว่า การจัดการที่มีเป็นลักษณะร่วมกันนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับสิ่งอื่นๆโดยประยุกต์ใช้เพื่อจัดการการเก็บรักษาทรัพยากรที่มีคุณค่าจำนวนมากของพวกเราเช่นกัน
ผู้เขียน KoKeKo